วันพฤหัสบดีที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2557

กปปส.ตรัง ล้อมที่เลือกตั้งล่วงหน้า

กปปส.ตรัง ล้อมที่เลือกตั้งล่วงหน้า
ข่าวภูมิภาค เลือกตั้ง2557 ม็อบการเมือง วันอาทิตย์ที่ 26 มกราคม พ.ศ.2557 11:06น.
511852
กลุ่ม กปปส. ตรัง กว่า 200 ปิดล้อมที่ว่าการอำเภอรัษฎา และศาลาประชาคม ที่เลือกตั้งล่วงหน้า จนท. เข้าหน่วยไม่ได้
ที่ว่าการอำเภอรัษฎา จ.ตรัง การจัดการเลือกตั้งล่วงหน้าในเขตจังหวัด มีผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งที่มาลงทะเบียนไว้จำนวน 3 คน แต่ตั้งแต่ช่วงเช้านั้น ได้มีกลุ่ม กปปส. อ.รัษฎา กว่า 200 คน ได้มาชุมนุมปิดประตูทางเข้าที่ว่าการอำเภอรัษฎา และศาลาประชาคม ซึ่งใช้เป็นหน่วยเลือกตั้งล่วงหน้าในเขตจังหวัด ดังนั้น เจ้าหน้าที่ประจำหน่วยเลือกตั้งไม่สามารถเข้าไปในหน่วยเลือกตั้งได้ อีกทั้ง หีบบัตร อุปกรณ์ และบัตรเลือกตั้งทั้งหมด อยู่ที่ว่าการอำเภอรัษฎา ทั้งหมด ซึ่งผู้ชุมนุมปิดล้อมที่ว่าการอำภอไว้ตั้งแต่ 5 วันที่ผ่านมา

http://www.innnews.co.th/shownews/show?newscode=511852

วันเสาร์ที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2557

วันกองทัพไทย

วันกองทัพไทย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

 

วันกองทัพไทย เป็นวันที่ระลึกในวาระที่สมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงกระทำยุทธหัตถีกับพระมหาอุปราชาของพม่า โดยถือเอาวันที่ 18 มกราคม ของทุกปีเป็นวันกองทัพไทยตามการคำนวณจากเหตุการณ์ในประวัติศาสตร์ ที่ระบุว่า พระองค์กระทำยุทธหัตถี ในวันจันทร์ แรม 2 ค่ำ เดือนยี่ ปีมะโรง จ.ศ. 954 คำนวณได้ ตรงกับวันที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2135 (บางตำราว่า ปี พ.ศ. 2136)
เดิมนั้นกระทรวงกลาโหมได้กำหนดให้วันที่ 8 เมษายนของทุกปีเป็นวันกองทัพไทย ต่อมาในปี พ.ศ. 2523 ได้เปลี่ยนโดยให้ถือเอาวันที่ 25 มกราคม เป็นวันกองทัพไทย ตามมติของคณะรัฐมนตรีในสมัยนั้น ภายหลังได้มีนักประวัติศาสตร์หลายท่านได้ตรวจสอบ และพบว่าวันที่ทรงกระทำยุทธหัตถีนั้น แท้จริงแล้วไม่ได้ตรงกับวันที่ 25 มกราคม แต่น่าจะตรงกับวันที่ 18 มกราคม ปีดังกล่าว ทางราชการยังคงถือเอาวันที่ 25 มกราคม เป็นวันกองทัพไทยต่อไป จนกระทั่งวันที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2549 คณะรัฐมนตรีได้เห็นชอบตามที่กระทรวงกลาโหมเสนอ ให้เปลี่ยนแปลงกำหนดวันกองทัพไทยจากวันที่ 25 มกราคม ของทุกปีเป็นวันที่ 18 มกราคม ของทุกปี และอนุมัติให้เป็นวันหยุดราชการของกระทรวงกลาโหมตามหลักการเดิม


วันพุธที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2557

ยางพาราต้นแรก

ยางพาราต้นแรกของประเทศไทย


ตั้งอยู่ริมถนนก่อนเข้าสู่ตัวเมืองอำเภอกันตัง
หลายคนอาจจะสงสัยว่าทำไมต้นยางไม่โตสักเท่าไหร่เลย
เขาเล่าว่านี่คือหนึ่งในต้นยางชุดแรกที่ ท่านพระยารัษฎาฯ นำมาปลูก
แต่เผอิญต้นนี้ปลูกอยู่บนชั้นหินทำให้ต้นไม้ไม่โตเท่าที่ควร

       ยางพาราเป็นพืชที่มีประวัติความเป็นมาอันยาวนาน เริ่มจากการเดินทางไปพบทวีปอเมริกาของโคลัมบัส ในราวปี พ.ศ.2036 หรือเป็นเวลาประมาณ 510 ปีมาแล้ว ต่อมาได้มีการสำรวจหลายคณะเดินทางไปภายหลัง พบเห็นชาวอินเดียแดงซึ่งเป็นคนพื้นเมืองในอเมริกาใต้ นำลูกบอลล์ยางเล็กๆ มาเล่นเกมส์และเห็นเป็นของแปลกที่มีวัตถุกระดอนเต้นขึ้นลงได้ ชาวอินเดียแดงเรียกต้นยางว่า "คาอุห์ชุค" (Caoutchoue) แปลว่า "ต้นไม้ที่ร้องไห้" เพราะเมื่อต้นยางถูกของมีคมจะมีน้ำยางหยดไหลคล้ายหลั่งน้ำตา ชาวอินเดียแดงนำยางมาทำของใช้ต่างๆ เช่น ขวดหรือภาชนะที่ทำจากยาง และรองเท้ายางที่ทำง่ายๆ โดยใช้เท้าจุ่มลงในน้ำยางแล้วยกมาปล่อยให้แห้ง ทำหลายๆ ครั้งจะได้รองเท้ายางที่แนบสนิทเหมือนสวมถุงเท้า คณะนักสำรวจจากยุโรปเดินทางกลับได้มีผู้นำยางจากเมืองพารา (PARA) ซึ่งเป็นเมืองท่าแถบลุ่มน้ำอะเมซอนอเมริกาใต้ และเมื่อถึงยุโรปแล้วได้พบโดยบังเอิญว่า ถ้านำยางมาถูรอยดินสอจะลบรอยดินสอได้ (Rubber) ชื่อ "ยางพารา" หรือ PARA RUBBER จึงเป็นชื่อที่ติดปากคนทั่วโลกตั้งแต่นั้นมา

        การค้นคว้าพัฒนายางทางอุตสาหกรรมในยุโรปขยายตัวอย่างรวดเร็ว เริ่มจากนำน้ำยางสดไปเคลือบผ้าทำผ้ายางกันฝนได้ นำไปผลิตทำที่รองรับความยืดหยุ่นของเครื่องยนต์ ใช้ทางการแพทย์ ทำอุปกรณ์กีฬาและของเล่นต่างๆ แต่ที่สำคัญแล้วใช้เป็นปริมาณมากที่สุด คือ ใช้ในอุตสาหกรรมทำยางรถยนต์ และใช้เทคโนโลยีสูดสุด ได้แก่ การทำล้อเครื่องบิน นอกจากนี้ยังใช้ทำเฟอร์นิเจอร์ พวกโซฟา ที่นอนฟองน้ำ ทำให้เราได้นั่งได้นอนที่นุ่มๆ แสนสบาย ยางพาราจึงเป็นต้นไม้ที่สวรรค์ประทานมา เพื่อความผาสุขของมวลมนุษย์ชาติ
ยางพาราเข้าสู่ไทย
        ประมาณปี พ.ศ.2442 พระยารัษฎานุประดิษฐ์ฯ  ซึ่งขณะนั้นดำรงตำแหน่งเจ้าเมืองตรัง ได้นำยางพาราจากมาเลเซียเข้ามาปลูกที่อำเภอกันตัง จังหวัดตรังเป็นแห่งแรก และต้นยางต้นดังกล่าวปัจจุบันก็ยังอยู่ ซึ่งตั้งอยู่ริมถนนก่อนเข้าสู่ตัวเมืองอำเภอกันตัง นับจากเริ่มปลูกครั้งแรกถึง พ.ศ.2548 ยางพาราไทย อายุครบ 106 ปี
เหตุใดต้องมีสำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง (สกย.)
        ต้นยางแก่ที่ปลูกมา 20-25 ปี หน้ากรีดจะเสียหายและให้ผลผลิตน้อยไม่คุ้มค่า และไม่สามารถจะยึดถือเป็นอาชีพต่อไปได้ เจ้าของสวนยางส่วนใหญ่ 80-90 เปอร์เซ็นต์ เป็นเจ้าของสวนยางขนาดเล็ก ซึ่งไม่มีทุนรอนที่จะไปทำการโค่นปลูกใหม่ได้ ในขณะที่ประเทศเพื่อนบ้าน คือ มาเลเซีย และ อินโดนีเซีย ได้จัดตั้งกองทุนสงเคราะห์ช่วยเหลือเจ้าของสวนยางในประเทศของเขา ในการแก้ปัญหาดังกล่าว จากแนวคิดนี้รัฐบาลสมัยจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ จึงได้ออกพระราชบัญญัติกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยางขึ้นในปี พ.ศ.2503 ให้ สกย.เป็นองค์กรของรัฐประเภทไม่แสวงหาผลกำไรเชิงธุระกิจ โดยให้ทำการเก็บเงินสงเคราะห์ (Cess) จากผู้ส่งยางออกนอกราชอาณาจักรแล้วนำเงินทุนดังกล่าวมาบริหารงาน 10 เปอร์เซ็นต์ ไม่เกิน 5 เปอร์เซ็นต์ จ่ายให้กรมวิชาการเกษตร เพื่อค้นคว้าทดลองเกี่ยวกับยาง และ 85 เปอร์เซ็นต์ ต้องนำมาเพื่อให้การสงเคราะห์ปลูกแทน การให้ทุนสงเคราะห์ปลูกแทนนั้น นอกจากให้ปลูกยางพันธุ์ดีแล้ว สกย.ยังให้ทำการปลูกแทนด้วยไม้ผลและพืชเศรษฐกิจอื่นๆ ได้อีกประมาณ 30 ชนิด และที่นิยมขอทุนปลูกแทนกันกว้างขวางขณะนี้ คือ ขอปลูกแทนด้วยปาล์มน้ำมัน ปาล์มน้ำมันจะเป็นพืชเศรษฐกิจที่มาแรง มีการขอทุนกันมากขึ้นทุกปี
        ปัจจุบันประเทศไทยผลิตยางพาราธรรมชาติได้มากที่สุดในโลก เนื้อที่ปลูกประมาณ 12.3 ล้านไร่ มีผลผลิตส่งออกปีละประมาณ 2.4 ล้านตัน มูลค่า 100,000 ล้านบาท/ปี ส่งออกไปในรูปน้ำยางข้น (Concentrate Latex) ยางแผ่นรมควัน (Ribbed Smoke Sheet : RSS) ยางอบแห้ง (Air Dried Sheet : ADS) และยางแท่ง (Standard Thai Rubber : STR) และที่ตลาดต้องการมากที่สุดคือยางแผ่นรมควันชั้น 3 (RSS 3) และยางแท่งเบอร์ 20 (STR 20) เพราะยางทั้งสองชนิดนี้นำไปใช้ในโรงงานอุตสาหกรรมทำยางรถยนต์
 

ภาพกรรมวิธีการผลิตยางพารา





การกรีดยางพาราและการใช้ถ้วยรองรับน้ำยาง
 


 
อุปกรณ์ที่ใช้ในการทำยางแผ่น
การผสมน้ำยาฆ่ายาง


 
น้ำยางที่แข็งตัวแล้วจะถูกนำมาเหยียบด้วยเท้า และเน้นด้วยมือให้ได้แผ่นยาง
นำยางที่ได้มารีดด้วยจักรลื่นและจักรดอก
ให้เป็นแผ่นบาง


ยางแผ่นที่เสร็จเรียบร้อยแล้ว จะถูกนำมาผึ่งแดดจนแห้ง
 

โรคฉี่หนู

โรคฉี่หนู (Leptospirosis)
โดย น.สพ.วชิร ตระกูลชัยศรี
                โรคฉี่หนูเป็นโรคติดต่อจากสัตว์สู่คน (Zoonosis) ซึ่งมีหนูเป็นตัวแพร่เชื้อ ส่วนสุนัข สุกร โค กระบือ แพะ แกะและสัตว์เลี้ยงพบการป่วยเป็นโรคนี้ได้ แต่แมวไม่ค่อยพบการป่วยด้วยโรคนี้ สัตว์ป่วยที่ติดเชื้อจะแพร่เชื้อทางปัสสาวะ พบการระบาดของโรคนี้สูงในช่วงฤดูฝน หรือช่วงน้ำท่วมขัง
เชื้อสาเหตุ
                เกิดจากเชื้อ Leptospira interrogans ซึ่งเป็นเชื้อแบคทีเรียแกรมลบ รูปร่างเป็นเส้นเกลียว (Spirochete) โดยมีมากกว่า 200 ซีโรวาร์ (serovars) แต่ซีโรวาร์สำคัญที่พบก่อโรคในสัตว์เลี้ยงคือ Grippotyphosa, Pomona, Bratislava, Icterohemorrhagicae และ Canicola
กลไกการเกิดโรค
                เชื้อถูกขับออกมาทางปัสสาวะของสัตว์ที่ติดเชื้อได้นานหลายเดือนถึง 4 ปี ซึ่งมักปนเปื้อนอยู่ในน้ำท่วมขัง และตามสิ่งแวดล้อม เชื้อสามารถติดต่อโดยการไชเข้าสู่ร่างกายทางบาดแผลที่ผิวหนัง เยื่อบุของตา จมูก และปาก ในกรณีที่มีการแช่น้ำเป็นเวลานานเชื้อสามารถไชเข้าสู่ผิวหนังได้ถึงแม้ไม่มีบาดแผล ระยะฟักตัวของโรคประมาณ 1-2 สัปดาห์ โดยหลังจากติดเชื้อเข้าสู่ร่างกายจะเข้าสู่ระยะติดเชื้อในกระแสเลือด (Leptospiremic phase) ประมาณ 1 สัปดาห์ หลังจากนั้นจะพบเชื้อถูกปล่อยออกมากับปัสสาวะ (Leptospiruric phase) ซึ่งระยะนี้เชื้อจะเข้าไปอยู่ในไต ตับ ม้าม ระบบประสาทส่วนกลาง และที่ตา
อาการป่วยในสัตว์
                หลังจากได้รับเชื้ออาจพบอาการซึมลง เบื่ออาหาร มีไข้ ตาแดง กล้ามเนื้ออักเสบ ตัวเหลือง ในกรณีที่แสดงอาการที่รุนแรงและเฉียบพลันสัตว์ป่วยอาจช็อกแล้วเสียชีวิต ในกรณีที่มีการตอบสนองทางภูมิคุ้มกันอาจพบภาวะเยื่อบุสมองอักเสบแบบปราศจากเชื้อ และอาจพบภาวะตาบอดจากจอประสาทตาอักเสบได้ แต่โดยส่วนใหญ่สัตว์ที่ติดเชื้อมักไม่ค่อยแสดงอาการป่วยแต่สามารถแพร่เชื้อทางปัสสาวะได้
การตรวจและวินิจฉัยโรค
                ในเบื้องต้นสัตวแพทย์จะทำการซักประวัติ ตรวจร่างกายทั่วไป ตรวจเลือด ตรวจปัสสาวะ ซึ่งผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการเบื้องต้นอาจพบภาวะเม็ดเลือดขาวสูง เกล็ดเลือดต่ำ ความผิดของตับและไต การตรวจวินิจฉัยเพิ่มเติมจะทำการเอ็กซเรย์ หรืออัลตราซาวนด์ การตรวจวินิจฉัยเพื่อยืนยันการติดเชื้อในทางคลินิกนิยมใช้วิธี Polymerase chain reaction (PCR) ซึ่งเป็นการตรวจหา DNA ของเชื้อจากปัสสาวะหรือเลือด
การรักษา
                ในกรณีที่สัตว์ป่วยได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคฉี่หนูนั้น สัตวแพทย์จะพิจารณาการให้ยาปฏิชีวนะขึ้นกับระยะการป่วยซึ่งต้องให้ยาประมาณ 2-5 สัปดาห์ นอกจากนี้สัตว์แพทย์อาจพิจารณาให้การรักษาตามอาการหรือประคองอาการร่วมด้วย เช่น การให้น้ำเกลือ ยาบำรุงตับ ยาบำรุงไต ยาลดกรด ยาลดการอาเจียน เป็นต้น
การป้องกันและการควบคุม
  • การฉีดวัคซีนป้องกันโรคฉี่หนูให้กับสุนัข (ในแมวไม่มีวัคซีนป้องกันโรคนี้)
  • หลีกเลี่ยงไม่ให้สัตว์เลี้ยงไปเล่นน้ำท่วมขัง
  • ควบคุมประชากรหนูซึ่งเป็นแหล่งแพร่เชื้อ
  • กรณีที่มีสัตว์ป่วยเป็นโรคฉี่หนู ควรแยกเลี้ยงสัตว์ป่วยกับสัตว์ปกติ โดยที่เจ้าของสัตว์ไม่ควรสัมผัสกับตัวสัตว์ป่วย ปัสสาวะ อุจจาระ และสิ่งคัดหลั่งโดยตรง ควรใส่ถุงมือยาง และรองเท้าบู๊ต
  • ควรทำความสะอาดบริเวณที่อยู่อาศัย กรง ด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อหรือความร้อน
คำแนะนำ
                ถ้าสัตว์เลี้ยงที่บ้านของท่านได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคฉี่หนู แนะนำให้เจ้าของสัตว์เลี้ยงรีบไปพบแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัยถึงความเสี่ยงในการติดโรคฉี่หนู โดยอาการเบื้องต้นที่พบในคนหลังจากได้รับเชื้อ 4-13 วัน อาจมีอาการดั้งนี้  มีไข้ ปวดศรีษะ หนาวสั่น ปวดตามกล้ามเนื้อ อ่อนเพลียมาก อาเจียน ตาแดง ตัวเหลือง และอาจมีเลือดออกตามผิวหนัง ดังนั้นเจ้าของสัตว์เลี้ยงที่มีความเสี่ยงในการติดเชื้อควรพบแพทย์ตั้งแต่ระยะที่ยังไม่มีอาการป่วย

Veterary Science Mahidol University

Trust Rating
69%
vs.mahidol.ac.th
Close



วันอังคารที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2557

อ่านเอาเรื่อง

ผลไม้ไทย

    ยอดโภชนาการผลไม้ไทย

    สุดยอดโภชนาการผลไม้ไทย



    สุดยอดโภชนาการผลไม้ไทย (Health&Cuisine)

              ใครที่มองหาสุดยอดผลไม้อยู่ล่ะก็ ไม่ต้องมองไปไกล ลองผลไม้ไทยนี่สิ คุณค่าทางโภชนาการเพียบ

    ผลไม้คลายร้อน

              ตามธรรมชาติของผลไม้ในบ้านเรา ส่วนประกอบหลักที่พบได้ในผลไม้แทบทุกชนิด คือ น้ำตาล ไม่ว่าจะเป็น น้ำตาลซูโครส กลูโคส หรือฟรุกโตส ดังนั้นผู้ที่ป่วยด้วยโรคเบาหวาน หรือต้องควบคุมระดับน้ำตาล ควรเลือกบริโภคผลไม้ที่มีความหวานน้อยจะดีต่อสุขภาพ หรือหากต้องการรับประทานผลไม้รสหวานจัด ขอแนะนำว่ารับประทานได้แค่พอหายอยากเท่านั้นค่ะ

              ผลไม้ที่มีน้ำตาลมาก ได้แก่ กล้วยหอม ขนุน เงาะโรงเรียน กล้วยน้ำว้า ลิ้นจี่จักรพรรดิ์ มังคุด สละ น้อยหน่าหนัง กล้วยไข่

              ผลไม้ที่มีน้ำตาลน้อย เช่น แตงโมจินตรา ทุเรียนหมอนทอง ลำไยกะโหลก ฝรั่ง มะเฟือง ทุเรียนชะนี

    ผลไม้รสเปรี้ยว vs วิตามินซี

              ผลไม้รสเปรี้ยว อีกหนึ่งกลุ่มผลไม้ที่เหมาะสำหรับหน้าร้อน มะม่วงเปรี้ยว ๆ จิ้มน้ำปลาหวาน คงพอให้วันร้อน ๆ แสนน่าเบื่อ กลายเป็นวันดี ๆ ขึ้นมาได้จริงไหมคะ

              โดยทั่วไป หากนึกถึงผลไม้รสเปรี้ยว คนส่วนใหญ่คงคิดเหมือนกันว่า สารอาหารที่ได้จากผลไม้เหล่านี้คงหนีไม่พ้น วิตามินซี แต่ในความเป็นจริง รสเปรี้ยวไม่ได้การันตีปริมาณวิตามินซีในผลไม้นั้น ๆ แต่อย่างใด

              ยกตัวอย่าง เช่น สับปะรดรสเปรี้ยว กับมะละกอรสหวาน ผลยืนยันจากห้องทดลองระบุว่ามะละกอ มีปริมาณวิตามินซีสูงกว่าสับปะรดมาก ทั้งที่ไม่มีความเปรี้ยวเลย หรือในมะนาวที่มีรสเปรี้ยวจี๊ด ก็ไม่ได้มีวิตามินซีสูงอย่างที่ใคร ๆ เข้าใจ เพราะรสเปรี้ยวที่ได้มาจากกรดซิตริกหรือสารให้ความเปรี้ยวอื่น ๆ ต่างหาก อย่าลืมนะคะ รสเปรี้ยวไม่ได้บ่งบอกถึงปริมาณวิตามินซีเลย

              วิตามินซี เป็นสารอาหารที่มีความจำเป็นต่อการเจริญเติบโต และซ่อมแซมเนื้อเยื่อทั่วร่างกาย ทั้งยังช่วยต้านการแข็งตัวของหลอดเลือด รวมทั้งออกฤทธิ์ช่วยกำจัดอนุมูลอิสระได้ด้วย ในแต่ละวันร่างกายคนเราต้องการวิตามินซี 60 มิลลิกรัม ฝรั่งขนาดกลางครึ่งลูกมีวิตามินซีมากกว่า 100 มิลลิกรัม ดังนั้น วิตามินซีจากผลไม้จึงเพียงพอต่อร่างกาย โดยไม่จำเป็นต้องกินวิตามินซีสกัดแต่อย่างใด

    ผลไม้กับสารต้านอนุมูลอิสระ

              มลภาวะในอากาศ ความเครียด และอาหารที่ไม่ถูกสัดส่วน ล้วนเป็นปัจจัยกระตุ้นให้เกิดอนุมูลอิสระ (Free radical) ขึ้นในร่างกาย จนอาจนำไปสู่สาเหตุของโรคร้ายอย่างมะเร็งชนิดต่าง ๆ ได้ การรับประทานผลไม้ที่มีสารต้านอนุมูลอิสระเป็นประจำ นอกจากจะช่วยให้ร่างกายแข็งแรง ผิวพรรณสดใสแล้ว ยังช่วยลดโอกาสเกิดโรคต่าง ๆ ได้อีกทางหนึ่ง และสารต้านอนุมุลอิสระที่พบในผลไม้ ได้แก่

              โพลีฟีนอล ที่ออกฤทธิ์ลดการอักเสบในโรคหัวใจและหลอดเลือด รวมทั้งลดความเสี่ยงการเกิดมะเร็ง ผลไม้ที่เป็นแหล่งโพลีฟีนอล ได้แก่ น้อยหน่าหนัง มะเฟืองไทย ทุเรียนหมอนทอง ลิ้นจี่จักรพรรดิ์ ฝรั่ง และกล้วย

              แอนโทไซยานิน พบมากในผลไม้สีม่วง สีแดง ออกฤทธิ์ป้องกันอัลไซเมอร์ ความดันโลหิตสูง เบาหวานและมะเร็ง ผลไม้ที่มีแอนโทไซยานินสูง ได้แก่ มะเฟือง ละมุด เงาะโรงเรียน และชมพู่ทับทิมจันทร์

              คาเทชิน ช่วยลดความเสี่ยงโรคเส้นเลือดในสมองแตก โรคหัวใจ มะเร็ง และเบาหวาน พบมากที่สุดในใบชา ส่วนในผลไม้พบได้ในมะเฟือง น้อยหน่า ละมุด และลิ้นจี่จักรพรรดิ์

              แทนนิน สารให้รสฝาด ช่วยป้องกันโรคหัวใจและหลอดเลือด รวมทั้งโรคไขข้ออักเสบ พบมากในมะม่วงน้ำดอกไม้ น้อยหน่าหนังและละมุด