วันพุธที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

ประเพณีงานศพจังหวัดตรัง

pic24 โลงศพ หีบศพไทย จีน คริสต์,โลงเย็น,โลงแอร์ รับสั่งประกอบโลงศพ,รับจัดดอกไม้หน้าโลงศพ
ประเพณีงานศพ จังหวัดตรัง

เมื่อสมาชิกในครอบครัวถึงแก่กรรม เจ้าภาพหรือญาติผู้ตายจะไม่นิยมออกบัตรเชิญ แต่จะพิมพ์ประกาศโดยระบุชื่อผู้ตาย สาเหตุการตายสถานที่ตั้งศพ วัดที่จัดงานศพวันฌาปนกิจและรายชื่อเจ้าภาพพร้อมญาติทุกคนปิดไว้ตามสถานที่ชุมชนทั่วไป และจะส่งไปประกาศทางสถานีวิทยุท้องถิ่น

เมื่อผู้อ่านหรือผู้ฟังรู้ข่าวก็จะไปร่วมในงานถือว่าเป็นการเชิญแล้ว ทำให้จังหวัดตรังได้ชื่อว่า "เมืองการ์ดใหญ่" ในงานศพจะมีญาติพี่น้องเพื่อนฝูงไปร่วมอย่างคับคั่ง แขกที่ไปในงานทุกคนจะได้รับบัตรขอบคุณ โดยในบัตรจะระบุวันที่ เวลา สถานที่เผา หรือฝังศพไว้ ในคืนสุดท้ายหรือวันที่เคลื่อนศพออกจากบ้าน หรือวัดไปฝังหรือเผา จะมีการจัดเลี้ยงอาหารแบบโต๊ะจีนแก่แขกที่ไปร่วม ซึ่งชาวจังหวัดตรังมักจะเรียกวันนี้ว่า "วันเข้าการ" หรือ คืนเข้าการ ในวันเคลื่อนศพออกจากบ้านจะมีขบวนแห่ศพด้วยขบวนรถยนต์และรถจักรยานยนต์ที่ยาวเหยียด โดยรถทุกคันจะมีผ้าสีขาวผูกหน้ารถเพื่อแสดงให้เห็นว่าเป็นรถขบวนแห่ศพ
               

วันอาทิตย์ที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557


งานวิวาห์ใต้สมุทร จังหวัดตรัง

งานวิวาห์ใต้สมุทร กิจกรรมที่สำคัญในงานที่แปลกที่สุดในโลก ได้แก่ พิธีต้อนรับคู่บ่าวสาว (ชาวไทยและต่างประเทศ) ณ สนามบินตรัง ขบวนแห่คู่บ่าวสาวรอบตัวเมืองตรัง ต่อจากนั้นก็แห่ขันหมากด้วยเรือหางยาวไปยังเกาะกระดานแล้วดำน้ำลงไปทำพิธีรด น้ำสังข์และจดทะเบียนสมรสใต้ท้องทะเลลึกกว่า 40 ฟุต

จังหวัดตรังเป็นเมืองที่มีเสน่ห์ ชวนให้ผู้คนหลงใหลกับความงดงามที่ธรรมชาติบรรจงแต่งแต้ม ทั้งป่า เขาที่สมบูรณ์ด้วยพืชพันธุ์นานาชนิด เถื่อนถ้ำที่ละลานตาไปด้วยหินงอกหินย้อย สุดแท้แต่ผู้คนจะ จินตนาการ น้ำตกที่ไหลรินออกจากขุนเขาเกิดเป็นสายน้ำอันฉ่ำเย็น ประกอบกับตรังเป็นดินแดนที่ติด ทะเลทางฝั่งอันดามันทอดเป็นแนวยาว จึงมีหาดทรายขาวสะอาด และดารดาษไปด้วยเกาะแก่ง เป็นแหล่งกำเนิดของแนวปะการังที่สวยงาม อันเป็นที่อยู่อาศัยของฝูงปลาและสิ่งมีชีวิตน้อยใหญ่ เป็นทั้งบ้าน และที่หลบภัยในยามมรสุม ซ่อนความงดงามของธรรมชาติไว้ ยามเมื่อถึงช่วงเวลาที่ท้องฟ้าใสในเหมันต์ ฤดู ท้องทะเลสีเขียวมรกตอันสงบไร้คลื่นลมแปรปรวน ท่ามกลางความสดชื่นของมวลหมู่พันธุ์ไม้และ สรรพสัตว์ บรรยากาศของเมืองตรังในยามนี้ยิ่งมีเสน่ห์ดึงดูดผู้คนจากทั่วทุกสารทิศ โดยเฉพาะช่วงนี้ ของทุกปีเป็นห้วงเวลาที่ดอกศรีตรังกำหลังผลิดอกสีม่วงสดใส พร้อมเผยโฉมต้อนรับให้ผู้คนได้เดินทาง เข้าไปสัมผัสและชมความงดงาม

จุดเริ่มต้น ย้อนกลับไปเมื่อต้นปี 2539 จังหวัดตรังเป็นที่รู้จักของคนทั่วโลกในฐานะที่ได้สร้างตำนานรักอันยิ่ง ใหญ่เป็นครั้งแรกของโลก ภายใต้ท้องฟ้าสีครามและทะเลสีเขียวมรกตที่สวยงามของทะเลเมืองตรัง ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นที่เป็นความประทับใจมิรู้ลืมของคู่รักหนุ่มสาวนักดำน้ำ คู่หนึ่งที่หลงใหลความงดงามของ โลกใต้ท้องทะเลและจากกิจกรรมบำเพ็ญประโยชน์เพื่ออนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ ใต้ท้องทะเลใน โครงการคืนธรรมชาติสู่แหล่งปะการัง ครั้งที่ 1 เป็นเสมือนสายใยแห่งรักของหนุ่มสาวที่เริ่มก่อตัวขึ้น จนแน่นแฟ้นครั้งนั้น นำไปสู่พิธีวิวาห์ใต้สมุทรที่โด่งดังไปทั่วโลกวันนี้

พิธีวิวาห์ใต้สมุทร เกิดขึ้นโดยการริเริ่มของคุณยงยุทธ วิชัยดิษฐ ผู้ว่าราชการจังหวัดตรังในขณะนั้น และคุณสุรินทร์ โตทับเที่ยง ประธานหอการค้าจังหวัดตรังในสมัยนั้น ได้ร่วมกันบันดาลความฝันของคู่รัก ให้เป็นจริงโดยได้จัดให้มีการจดทะเบียนสมรสใต้ทะเลในชื่อ พิธีวิวาห์ใต้สมุทรซึ่ง พิธีที่จังหวัดตรัง ได้จัดขึ้น นอกจากจะสร้างชื่อเสียงให้กับประเทศและจังหวัดในฐานะที่จัดพิธีจดทะเบียน สมรสใต้สมุทร เป็นแห่งแรกในโลกแล้ว ในปีต่อ ๆ มายังได้สร้างชื่อเสียงจนได้รับการบันทึกเป็นสถิติโลกในหนังสือ กินเนส เวิลด์ เรคคอร์ด (Guinness World Records) ว่าเป็นวิวาห์ใต้สมุทรที่ใหญ่ที่สุดในโลก ในฐานะ ที่มีคู่สมรสเข้าร่วมแต่งงานใต้น้ำมากที่สุด และยังเปิดโอกาสให้ผู้พิการได้เข้าร่วมในพิธีด้วยซึ่งเมื่อถึง เทศกาลวันแห่งความรักจะมีการจัดพิธีดังกล่าว เรียกว่าเป็นประเพณีของจังหวัดตรัง หนุ่มสาวคู่รักมาก มายต่างหมายจะได้ไปเยือน เพื่อเติมเต็มความรักให้แก่กัน และร่วมสร้างความประทับใจ ในดินแดนที่เต็มไปด้วยกลิ่นอายแห่งความรัก

พิธีวิวาห์ใต้สมุทร เป็นการเผยแพร่พิธีแต่งงานที่งดงามแบบไทยให้นักท่องเที่ยว คู่รักและนักดำน้ำ ชาวต่างประเทศที่สนใจได้เข้าร่วมงาน โดยนำเสนอความเป็นไทยแท้ เริ่มตั้งแต่พิธีทาง ศาสนา พิธีแห่ขันหมาก พิธีรดน้ำสังข์ พิธีการส่งตัวเข้าหอ โดยยึดคติความเชื่อที่ว่า ต้องมีคู่รักที่อยู่ร่วมกันจนแก่เฒ่ามาทำพิธีเพื่อความเป็นสิริมงคล แม้แต่การแต่งกายของคู่บ่าวสาวที่เน้นเอกลักษณ์ความเป็นไทย ใช้ผ้าไทยนำมาตัดเย็บซึ่งจะสร้างความประทับใจให้กับคู่บ่าวสาวทุกคู่ที่ได้ เข้าร่วมงาน คู่รักที่ได้มีโอกาสเข้าร่วมเป็นส่วนหนึ่งในงานจดทะเบียนสมรสใต้สมุทร เช่น คู่ของคุณศึกษา ลักษณะพริ้ม เลขานุการสมาคมกีฬาคนตาบอดแห่งประเทศไทยและภรรยา ได้เปิดเผยถึงความประทับใจ ที่มิอาจลืมเลือนว่า ผม เป็นคนจังหวัดตรัง ตนและภรรยาได้ใช้ชีวิตร่วมกันมานาน แต่ยังไม่มีโอกาสจัดพิธีแต่งงาน และสนใจอยากเข้าร่วมงานวิวาห์ใต้สมุทรเพื่อเป็นสิริมงคลแก่ชีวิต จึงได้เข้าร่วมงานวิวาห์ใต้สมุทร

โดยได้ฝึกการดำน้ำอย่างถูกต้อง เพื่อความปลอดภัย สร้างความประทับใจเป็นอย่างมาก และรู้สึกยินดีที่งานวิวาห์ใต้สมุทรได้เปิดโอกาสให้คนพิการได้เข้าร่วม กิจกรรมนี้ เป็นการให้ความเสมอภาคและเท่าเทียมกันที่สำคัญรู้สึกดีใจที่ได้มีส่วนบำเพ็ญ ประโยชน์ในการส่งเสริม และสนับสนุนการท่องเที่ยวของจังหวัดตรังในขณะเดียวกันพิธีวิวาห์ใต้สมุทรยัง เปิดโอกาสให้คู่รักที่เคย แต่งงานกันเมื่อปีก่อนๆ มาร่วมงานซึ่งเป็นเหมือนการฮันนีมูนและสร้างประสบการณ์ให้กับครั้งหนึ่งใน ชีวิต รวมถึงนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและต่างประเทศที่รักการท่องเที่ยวและการดำน้ำ สามารถเดินทางมาในร่วม ฉลองเทศกาลแห่งความรัก และสัมผัสกับบรรยากาศที่อบอวลไปด้วยความรักและความงดงามของท้องทะเลตรัง

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ หอการค้าจังหวัดตรัง โทร.075 210 238, 075 225 353 ททท.สำนักงาน ภาคใต้ เขต 2 (นครศรีธรรมราช) โทร. 075 346 515 ศูนย์ประสานงานการท่องเที่ยวจังหวัดตรัง โทร. 075 215 867-8

 

วันจันทร์ที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

วันมาฆบูชา

วันมาฆบูชา (บาลี: มาฆปูชา; อักษรโรมัน: Magha Puja) เป็นวันสำคัญของชาวพุทธเถรวาทและวันหยุดราชการในประเทศไทย[1] "มาฆบูชา" ย่อมาจาก "มาฆปูรณมีบูชา" หมายถึงการบูชาในวันเพ็ญกลางเดือนมาฆะ ตามปฏิทินของอินเดีย หรือเดือน 3 ตามปฏิทินจันทรคติของไทย (ตกช่วงเดือนกุมภาพันธ์หรือมีนาคม) ถ้าในปีใดมีเดือนอธิกมาส คือมีเดือน 8 สองหน (ปีอธิกมาส) ก็เลื่อนไปทำในวันเพ็ญเดือน 3 หลัง (วันเพ็ญเดือน 4)[2]
วันมาฆบูชา ได้รับการยกย่องเป็นวันสำคัญทางศานาพุทธเนื่องจากเหตุการณ์สำคัญที่เกิดขึ้นเมื่อ 2,500 กว่าปีก่อน องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงโอวาทปาฏิโมกข์ท่ามกลางที่ประชุมมหาสังฆสันนิบาตครั้งใหญ่ในพระพุทธศาสนา โดยมีเหตุการณ์เกิดขึ้นพร้อมกัน 4 ประการ คือ พระสงฆ์สาวกที่มาประชุมพร้อมกันทั้ง 1,250 รูปนั้นได้มาประชุมกันยังวัดเวฬุวันโดยมิได้นัดหมาย, พระสงฆ์ที่มาประชุมทั้งหมดต่างล้วนเป็น "เอหิภิกขุอุปสัมปทา" หรือผู้ได้รับการอุปสมบทจากพระพุทธเจ้าโดยตรง, พระสงฆ์ทั้งหมดที่มาประชุมล้วนเป็นพระอรหันต์ผู้ทรงอภิญญา 6, และวันดังกล่าวตรงกับวันเพ็ญมาฆปุรณมีดิถี ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 3 ดังนั้นจึงมีคำเรียกวันนี้อีกคำหนึ่งว่า "วันจาตุรงคสันนิบาต" หรือ วันที่มีการประชุมพร้อมด้วยองค์ 4[3][4]
เดิมนั้นไม่มีการประกอบพิธีมาฆบูชาในประเทศพุทธเถรวาท จนมาในสมัยของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 4) พระองค์ได้ทรงปรารภถึงเหตุการณ์ครั้งพุทธกาลในวันเพ็ญเดือน 3 ดังกล่าวว่า เป็นวันที่เกิดเหตุการณ์สำคัญยิ่ง ควรมีการประกอบพิธีทางพระพุทธศาสนาเพื่อเป็นที่ตั้งแห่งความศรัทธาเลื่อมใส จึงมีพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าฯ ให้จัดการพระราชกุศลมาฆบูชาขึ้น[5] โดยการประกอบพระราชพิธีคงคล้ายกับวันวิสาขบูชา คือมีการบำเพ็ญพระราชกุศลต่าง ๆ มีการพระราชทานจุดเทียนตามประทีปเป็นพุทธบูชาในวัดพระศรีรัตนศาสดาราม และพระอารามหลวงต่าง ๆ เป็นต้น โดยในช่วงแรกพิธีมาฆบูชาคงเป็นการพระราชพิธีภายใน ยังไม่แพร่หลายทั่วไป จนต่อมาความนิยมจัดพิธีมาฆบูชาจึงได้ขยายออกไปทั่วราชอาณาจักร
ปัจจุบันวันมาฆบูชาได้รับการประกาศให้เป็นวันหยุดราชการในประเทศไทย[1] โดยพุทธศาสนิกชนทั้งพระบรมวงศานุวงศ์[6] พระสงฆ์ และประชาชน จะมีการประกอบพิธีต่าง ๆ เช่น การตักบาตร การฟังพระธรรมเทศนา การเวียนเทียน เป็นต้น เพื่อเป็นการบูชารำลึกถึงพระรัตนตรัยและเหตุการณ์สำคัญดังกล่าว ที่ถือได้ว่าเป็นวันที่พระพุทธเจ้าทรงประทานโอวาทปาฏิโมกข์[7] ซึ่งกล่าวถึงหลักคำสอนอันเป็นหัวใจของพระพุทธศาสนา ได้แก่ การไม่ทำความชั่วทั้งปวง การบำเพ็ญความดีให้ถึงพร้อม และการทำจิตของตนให้ผ่องใส เพื่อเป็นหลักปฏิบัติของพุทธศาสนิกชนทั้งมวล
นอกจากนี้ ในปี พ.ศ. 2549 รัฐบาลไทยได้ประกาศให้วันมาฆบูชา ให้เป็น "วันกตัญญูแห่งชาติ" เนื่องจากปัจจุบันสังคมไทยวัยรุ่นสาวมักจะเสียตัวในวันวาเลนไทน์ หลายหน่วยงานจึงพยายามรณรงค์ให้วันมาฆบูชาเป็นวันแห่งความรัก (อันบริสุทธิ์) แทน
ในปี พ.ศ. 2556 นี้ วันมาฆบูชาจะตรงกับ วันจันทร์ที่ 25 กุมภาพันธ์ ตามปฏิทินสุริยคติ สำหรับในปี พ.ศ. 2557 นี้ วันมาฆบูชาจะตรงกับ วันศุกร์ที่ 14 กุมภาพันธ์