วันพุธที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2557

ชื่อแหล่งท่องเที่ยว : วัดถ้ำพระพุทธประเภทสถานที่ท่องเที่ยว : ศิลปะ วัฒนธรรม และแหล่งมรดกสถานที่ตั้ง : หมู่ที่ 6 ตำบลหนองบัวหมายเลขติดต่อสอบถาม : latitude : longitude : รายละเอียด : เลขที่ ๕/๑ บ้านถ้ำพระ หมู่ที่ ๖ ตำบลหนองบัว อำเภอรัษฎา จังหวัดตรัง สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย มีที่ดินทั้งวัดเนื้อที่ ๘๔ ไร่ เป็นวัดซึ่งมีอาณาบริเวณอยู่ในแวดล้อมของภูเขาที่โอบอ้อมเข้ามาเกือบทุกด้าน ลักษณะเป็นภูเขาหินปูนและหินแกรนิต ตรงบริเวณเชิงเขาโดยรอบ พื้นที่ตั้งวัดเป็นที่ราบสูง ล้อมรอบด้วยภูเขาสามด้าน มีคลองอยู่หน้าวัด ทางทิศตะวันออก มีอาคารเสนาสนะต่าง ๆ มีอุโบสถกว้าง ๑ เมตร ยาว ๑๘ เมตร สร้าง พ.ศ. ๒๔๖๖ โครงสร้างเสาคอนกรีต หลังคามุงกระเบื้อง กุฏิสงฆ์จำนวน ๒ หลัง โครงสร้างเป็นอาคารไม้เสาคอนกรีต หลังคามุงสังกะสีการเดินทาง : จากตัวเมืองตรัง ใช้เส้นทางรถยนต์สายตรัง-ห้วยยอด-รัษฎา ระยะทางจากห้วยยอดประมาณ ๔๐ กิโลเมตร จากอำเภอรัษฎามีทางรถยนต์ไปวัดถ้ำพระพุทธ ระยะทางประมาณ ๑๗ กว่ากิโลเมตร ถึงบ้านวัดถ้ำพระ วัดถ้ำพระพุทธ อยู่ติดต่อเขตบ้านน้ำตก อำเภอทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช





วันศุกร์ที่ 14 มีนาคม พ.ศ. 2557

วิวาห์ใต้สมุทร

32 คู่บ่าวสาว ร่วมกิจกรรมใต้สมุทร ทะเลตรังชื่นมื่น 6 คู่รักร่วมจดทะเบียนใต้ทะเล "ผู้ว่าฯ" นำทีมจัดกิจกรรมอันซีนไทยแลนด์...
เมื่อเวลา 07.30 น. วันที่ 11 ก.พ. 57 ผู้สื่อข่าวรายงานบรรยากาศการจัดงานพิธีวิวาห์ใต้สมุทร จ.ตรัง ครั้งที่ 18 ในวันที่ 2 ว่า วันนี้มีคู่บ่าวสาวจำนวน 32 คู่ เดินทางไปยังชายหาดปากเมง อุทยานแห่งชาติหาดเจ้าไหม อ.สิกา จ.ตรัง โดยมี นายสมศักดิ์ ปะริสุทโธ เหมทานนท์ ผู้ว่าฯ ตรัง และนายสลิล โตทับเที่ยง ประธานหอการค้าจังหวัดตรัง นำคณะคู่รัก ไปร่วมกิจกรรมจดทะเบียนสมรสใต้ท้องทะเลความลึก 12 เมตร บริเวณเกาะกระดาน อ.กันตัง จ.ตรัง ซึ่งในปีนี้มีคู่บ่าวสาวร่วมจดทะเบียนใต้ท้องทะเลจำนวน 6 คู่ ที่เหลือร่วมท่องเที่ยวทะเลตรัง ดำน้ำชมปะการัง และลอดถ้ำมรกต เพื่อสร้างสีสันแต่งเติมความสุขให้กับคู่รักไปพร้อมๆ กับประชาสัมพันธ์ทางท่องเที่ยวให้กับจังหวัดตรัง บรรยากาศเต็มไปด้วยความสุข สนุกและชื่นมื่น
ทั้งนี้ หลังคู่รักบ่าวสาวเดินทางมาถึงบริเวณท่าเทียบเรือปากเมง ม.4 ต.ไม้ฝาด อ.สิเกา จ.ตรัง ก็มีชาวบ้านให้การต้อนรับ มีการร่วมเก็บภาพบันทึกความทรงจำกันอย่างสนุกสนาน ตื่นตาตื่นใจ จากนั้นมีการแยกคณะคู่รักออกเป็น 2 ชุด ชุดแรกเดินทางไปยังเกาะกระดาน เพื่อร่วมจดทะเบียนใต้ทะเล โดยมีคู่รักกิตติมศักดิ์ คือ นายสาธร นราวิสุทธิ์ รองผู้ว่าฯ ตรัง ร่วมกิจกรรมดำน้ำด้วย โดยที่ผู้ว่าฯ ตรัง ได้มอบคู่รักปลาดีโม่ ไปปล่อยในแนวปะการังและหญ้าทะเลใต้ท้องทะเล ปล่อยเต่ากระไปพร้อมๆ กับดำน้ำชมปะการังไปตามเกาะแก่งต่างๆ และลอดถ้ำมรกตอันซีนทะเลตรัง โดยตอนเย็นจะมีงานเลี้ยงฉลองคู่รัก ณ หาดแห่งความรัก ภายในมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย ต.ไม้ฝาด อ.สิเกา จ.ตรัง ด้วย

วันพุธที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

ประเพณีงานศพจังหวัดตรัง

pic24 โลงศพ หีบศพไทย จีน คริสต์,โลงเย็น,โลงแอร์ รับสั่งประกอบโลงศพ,รับจัดดอกไม้หน้าโลงศพ
ประเพณีงานศพ จังหวัดตรัง

เมื่อสมาชิกในครอบครัวถึงแก่กรรม เจ้าภาพหรือญาติผู้ตายจะไม่นิยมออกบัตรเชิญ แต่จะพิมพ์ประกาศโดยระบุชื่อผู้ตาย สาเหตุการตายสถานที่ตั้งศพ วัดที่จัดงานศพวันฌาปนกิจและรายชื่อเจ้าภาพพร้อมญาติทุกคนปิดไว้ตามสถานที่ชุมชนทั่วไป และจะส่งไปประกาศทางสถานีวิทยุท้องถิ่น

เมื่อผู้อ่านหรือผู้ฟังรู้ข่าวก็จะไปร่วมในงานถือว่าเป็นการเชิญแล้ว ทำให้จังหวัดตรังได้ชื่อว่า "เมืองการ์ดใหญ่" ในงานศพจะมีญาติพี่น้องเพื่อนฝูงไปร่วมอย่างคับคั่ง แขกที่ไปในงานทุกคนจะได้รับบัตรขอบคุณ โดยในบัตรจะระบุวันที่ เวลา สถานที่เผา หรือฝังศพไว้ ในคืนสุดท้ายหรือวันที่เคลื่อนศพออกจากบ้าน หรือวัดไปฝังหรือเผา จะมีการจัดเลี้ยงอาหารแบบโต๊ะจีนแก่แขกที่ไปร่วม ซึ่งชาวจังหวัดตรังมักจะเรียกวันนี้ว่า "วันเข้าการ" หรือ คืนเข้าการ ในวันเคลื่อนศพออกจากบ้านจะมีขบวนแห่ศพด้วยขบวนรถยนต์และรถจักรยานยนต์ที่ยาวเหยียด โดยรถทุกคันจะมีผ้าสีขาวผูกหน้ารถเพื่อแสดงให้เห็นว่าเป็นรถขบวนแห่ศพ
               

วันอาทิตย์ที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557


งานวิวาห์ใต้สมุทร จังหวัดตรัง

งานวิวาห์ใต้สมุทร กิจกรรมที่สำคัญในงานที่แปลกที่สุดในโลก ได้แก่ พิธีต้อนรับคู่บ่าวสาว (ชาวไทยและต่างประเทศ) ณ สนามบินตรัง ขบวนแห่คู่บ่าวสาวรอบตัวเมืองตรัง ต่อจากนั้นก็แห่ขันหมากด้วยเรือหางยาวไปยังเกาะกระดานแล้วดำน้ำลงไปทำพิธีรด น้ำสังข์และจดทะเบียนสมรสใต้ท้องทะเลลึกกว่า 40 ฟุต

จังหวัดตรังเป็นเมืองที่มีเสน่ห์ ชวนให้ผู้คนหลงใหลกับความงดงามที่ธรรมชาติบรรจงแต่งแต้ม ทั้งป่า เขาที่สมบูรณ์ด้วยพืชพันธุ์นานาชนิด เถื่อนถ้ำที่ละลานตาไปด้วยหินงอกหินย้อย สุดแท้แต่ผู้คนจะ จินตนาการ น้ำตกที่ไหลรินออกจากขุนเขาเกิดเป็นสายน้ำอันฉ่ำเย็น ประกอบกับตรังเป็นดินแดนที่ติด ทะเลทางฝั่งอันดามันทอดเป็นแนวยาว จึงมีหาดทรายขาวสะอาด และดารดาษไปด้วยเกาะแก่ง เป็นแหล่งกำเนิดของแนวปะการังที่สวยงาม อันเป็นที่อยู่อาศัยของฝูงปลาและสิ่งมีชีวิตน้อยใหญ่ เป็นทั้งบ้าน และที่หลบภัยในยามมรสุม ซ่อนความงดงามของธรรมชาติไว้ ยามเมื่อถึงช่วงเวลาที่ท้องฟ้าใสในเหมันต์ ฤดู ท้องทะเลสีเขียวมรกตอันสงบไร้คลื่นลมแปรปรวน ท่ามกลางความสดชื่นของมวลหมู่พันธุ์ไม้และ สรรพสัตว์ บรรยากาศของเมืองตรังในยามนี้ยิ่งมีเสน่ห์ดึงดูดผู้คนจากทั่วทุกสารทิศ โดยเฉพาะช่วงนี้ ของทุกปีเป็นห้วงเวลาที่ดอกศรีตรังกำหลังผลิดอกสีม่วงสดใส พร้อมเผยโฉมต้อนรับให้ผู้คนได้เดินทาง เข้าไปสัมผัสและชมความงดงาม

จุดเริ่มต้น ย้อนกลับไปเมื่อต้นปี 2539 จังหวัดตรังเป็นที่รู้จักของคนทั่วโลกในฐานะที่ได้สร้างตำนานรักอันยิ่ง ใหญ่เป็นครั้งแรกของโลก ภายใต้ท้องฟ้าสีครามและทะเลสีเขียวมรกตที่สวยงามของทะเลเมืองตรัง ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นที่เป็นความประทับใจมิรู้ลืมของคู่รักหนุ่มสาวนักดำน้ำ คู่หนึ่งที่หลงใหลความงดงามของ โลกใต้ท้องทะเลและจากกิจกรรมบำเพ็ญประโยชน์เพื่ออนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ ใต้ท้องทะเลใน โครงการคืนธรรมชาติสู่แหล่งปะการัง ครั้งที่ 1 เป็นเสมือนสายใยแห่งรักของหนุ่มสาวที่เริ่มก่อตัวขึ้น จนแน่นแฟ้นครั้งนั้น นำไปสู่พิธีวิวาห์ใต้สมุทรที่โด่งดังไปทั่วโลกวันนี้

พิธีวิวาห์ใต้สมุทร เกิดขึ้นโดยการริเริ่มของคุณยงยุทธ วิชัยดิษฐ ผู้ว่าราชการจังหวัดตรังในขณะนั้น และคุณสุรินทร์ โตทับเที่ยง ประธานหอการค้าจังหวัดตรังในสมัยนั้น ได้ร่วมกันบันดาลความฝันของคู่รัก ให้เป็นจริงโดยได้จัดให้มีการจดทะเบียนสมรสใต้ทะเลในชื่อ พิธีวิวาห์ใต้สมุทรซึ่ง พิธีที่จังหวัดตรัง ได้จัดขึ้น นอกจากจะสร้างชื่อเสียงให้กับประเทศและจังหวัดในฐานะที่จัดพิธีจดทะเบียน สมรสใต้สมุทร เป็นแห่งแรกในโลกแล้ว ในปีต่อ ๆ มายังได้สร้างชื่อเสียงจนได้รับการบันทึกเป็นสถิติโลกในหนังสือ กินเนส เวิลด์ เรคคอร์ด (Guinness World Records) ว่าเป็นวิวาห์ใต้สมุทรที่ใหญ่ที่สุดในโลก ในฐานะ ที่มีคู่สมรสเข้าร่วมแต่งงานใต้น้ำมากที่สุด และยังเปิดโอกาสให้ผู้พิการได้เข้าร่วมในพิธีด้วยซึ่งเมื่อถึง เทศกาลวันแห่งความรักจะมีการจัดพิธีดังกล่าว เรียกว่าเป็นประเพณีของจังหวัดตรัง หนุ่มสาวคู่รักมาก มายต่างหมายจะได้ไปเยือน เพื่อเติมเต็มความรักให้แก่กัน และร่วมสร้างความประทับใจ ในดินแดนที่เต็มไปด้วยกลิ่นอายแห่งความรัก

พิธีวิวาห์ใต้สมุทร เป็นการเผยแพร่พิธีแต่งงานที่งดงามแบบไทยให้นักท่องเที่ยว คู่รักและนักดำน้ำ ชาวต่างประเทศที่สนใจได้เข้าร่วมงาน โดยนำเสนอความเป็นไทยแท้ เริ่มตั้งแต่พิธีทาง ศาสนา พิธีแห่ขันหมาก พิธีรดน้ำสังข์ พิธีการส่งตัวเข้าหอ โดยยึดคติความเชื่อที่ว่า ต้องมีคู่รักที่อยู่ร่วมกันจนแก่เฒ่ามาทำพิธีเพื่อความเป็นสิริมงคล แม้แต่การแต่งกายของคู่บ่าวสาวที่เน้นเอกลักษณ์ความเป็นไทย ใช้ผ้าไทยนำมาตัดเย็บซึ่งจะสร้างความประทับใจให้กับคู่บ่าวสาวทุกคู่ที่ได้ เข้าร่วมงาน คู่รักที่ได้มีโอกาสเข้าร่วมเป็นส่วนหนึ่งในงานจดทะเบียนสมรสใต้สมุทร เช่น คู่ของคุณศึกษา ลักษณะพริ้ม เลขานุการสมาคมกีฬาคนตาบอดแห่งประเทศไทยและภรรยา ได้เปิดเผยถึงความประทับใจ ที่มิอาจลืมเลือนว่า ผม เป็นคนจังหวัดตรัง ตนและภรรยาได้ใช้ชีวิตร่วมกันมานาน แต่ยังไม่มีโอกาสจัดพิธีแต่งงาน และสนใจอยากเข้าร่วมงานวิวาห์ใต้สมุทรเพื่อเป็นสิริมงคลแก่ชีวิต จึงได้เข้าร่วมงานวิวาห์ใต้สมุทร

โดยได้ฝึกการดำน้ำอย่างถูกต้อง เพื่อความปลอดภัย สร้างความประทับใจเป็นอย่างมาก และรู้สึกยินดีที่งานวิวาห์ใต้สมุทรได้เปิดโอกาสให้คนพิการได้เข้าร่วม กิจกรรมนี้ เป็นการให้ความเสมอภาคและเท่าเทียมกันที่สำคัญรู้สึกดีใจที่ได้มีส่วนบำเพ็ญ ประโยชน์ในการส่งเสริม และสนับสนุนการท่องเที่ยวของจังหวัดตรังในขณะเดียวกันพิธีวิวาห์ใต้สมุทรยัง เปิดโอกาสให้คู่รักที่เคย แต่งงานกันเมื่อปีก่อนๆ มาร่วมงานซึ่งเป็นเหมือนการฮันนีมูนและสร้างประสบการณ์ให้กับครั้งหนึ่งใน ชีวิต รวมถึงนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและต่างประเทศที่รักการท่องเที่ยวและการดำน้ำ สามารถเดินทางมาในร่วม ฉลองเทศกาลแห่งความรัก และสัมผัสกับบรรยากาศที่อบอวลไปด้วยความรักและความงดงามของท้องทะเลตรัง

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ หอการค้าจังหวัดตรัง โทร.075 210 238, 075 225 353 ททท.สำนักงาน ภาคใต้ เขต 2 (นครศรีธรรมราช) โทร. 075 346 515 ศูนย์ประสานงานการท่องเที่ยวจังหวัดตรัง โทร. 075 215 867-8

 

วันจันทร์ที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

วันมาฆบูชา

วันมาฆบูชา (บาลี: มาฆปูชา; อักษรโรมัน: Magha Puja) เป็นวันสำคัญของชาวพุทธเถรวาทและวันหยุดราชการในประเทศไทย[1] "มาฆบูชา" ย่อมาจาก "มาฆปูรณมีบูชา" หมายถึงการบูชาในวันเพ็ญกลางเดือนมาฆะ ตามปฏิทินของอินเดีย หรือเดือน 3 ตามปฏิทินจันทรคติของไทย (ตกช่วงเดือนกุมภาพันธ์หรือมีนาคม) ถ้าในปีใดมีเดือนอธิกมาส คือมีเดือน 8 สองหน (ปีอธิกมาส) ก็เลื่อนไปทำในวันเพ็ญเดือน 3 หลัง (วันเพ็ญเดือน 4)[2]
วันมาฆบูชา ได้รับการยกย่องเป็นวันสำคัญทางศานาพุทธเนื่องจากเหตุการณ์สำคัญที่เกิดขึ้นเมื่อ 2,500 กว่าปีก่อน องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงโอวาทปาฏิโมกข์ท่ามกลางที่ประชุมมหาสังฆสันนิบาตครั้งใหญ่ในพระพุทธศาสนา โดยมีเหตุการณ์เกิดขึ้นพร้อมกัน 4 ประการ คือ พระสงฆ์สาวกที่มาประชุมพร้อมกันทั้ง 1,250 รูปนั้นได้มาประชุมกันยังวัดเวฬุวันโดยมิได้นัดหมาย, พระสงฆ์ที่มาประชุมทั้งหมดต่างล้วนเป็น "เอหิภิกขุอุปสัมปทา" หรือผู้ได้รับการอุปสมบทจากพระพุทธเจ้าโดยตรง, พระสงฆ์ทั้งหมดที่มาประชุมล้วนเป็นพระอรหันต์ผู้ทรงอภิญญา 6, และวันดังกล่าวตรงกับวันเพ็ญมาฆปุรณมีดิถี ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 3 ดังนั้นจึงมีคำเรียกวันนี้อีกคำหนึ่งว่า "วันจาตุรงคสันนิบาต" หรือ วันที่มีการประชุมพร้อมด้วยองค์ 4[3][4]
เดิมนั้นไม่มีการประกอบพิธีมาฆบูชาในประเทศพุทธเถรวาท จนมาในสมัยของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 4) พระองค์ได้ทรงปรารภถึงเหตุการณ์ครั้งพุทธกาลในวันเพ็ญเดือน 3 ดังกล่าวว่า เป็นวันที่เกิดเหตุการณ์สำคัญยิ่ง ควรมีการประกอบพิธีทางพระพุทธศาสนาเพื่อเป็นที่ตั้งแห่งความศรัทธาเลื่อมใส จึงมีพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าฯ ให้จัดการพระราชกุศลมาฆบูชาขึ้น[5] โดยการประกอบพระราชพิธีคงคล้ายกับวันวิสาขบูชา คือมีการบำเพ็ญพระราชกุศลต่าง ๆ มีการพระราชทานจุดเทียนตามประทีปเป็นพุทธบูชาในวัดพระศรีรัตนศาสดาราม และพระอารามหลวงต่าง ๆ เป็นต้น โดยในช่วงแรกพิธีมาฆบูชาคงเป็นการพระราชพิธีภายใน ยังไม่แพร่หลายทั่วไป จนต่อมาความนิยมจัดพิธีมาฆบูชาจึงได้ขยายออกไปทั่วราชอาณาจักร
ปัจจุบันวันมาฆบูชาได้รับการประกาศให้เป็นวันหยุดราชการในประเทศไทย[1] โดยพุทธศาสนิกชนทั้งพระบรมวงศานุวงศ์[6] พระสงฆ์ และประชาชน จะมีการประกอบพิธีต่าง ๆ เช่น การตักบาตร การฟังพระธรรมเทศนา การเวียนเทียน เป็นต้น เพื่อเป็นการบูชารำลึกถึงพระรัตนตรัยและเหตุการณ์สำคัญดังกล่าว ที่ถือได้ว่าเป็นวันที่พระพุทธเจ้าทรงประทานโอวาทปาฏิโมกข์[7] ซึ่งกล่าวถึงหลักคำสอนอันเป็นหัวใจของพระพุทธศาสนา ได้แก่ การไม่ทำความชั่วทั้งปวง การบำเพ็ญความดีให้ถึงพร้อม และการทำจิตของตนให้ผ่องใส เพื่อเป็นหลักปฏิบัติของพุทธศาสนิกชนทั้งมวล
นอกจากนี้ ในปี พ.ศ. 2549 รัฐบาลไทยได้ประกาศให้วันมาฆบูชา ให้เป็น "วันกตัญญูแห่งชาติ" เนื่องจากปัจจุบันสังคมไทยวัยรุ่นสาวมักจะเสียตัวในวันวาเลนไทน์ หลายหน่วยงานจึงพยายามรณรงค์ให้วันมาฆบูชาเป็นวันแห่งความรัก (อันบริสุทธิ์) แทน
ในปี พ.ศ. 2556 นี้ วันมาฆบูชาจะตรงกับ วันจันทร์ที่ 25 กุมภาพันธ์ ตามปฏิทินสุริยคติ สำหรับในปี พ.ศ. 2557 นี้ วันมาฆบูชาจะตรงกับ วันศุกร์ที่ 14 กุมภาพันธ์

วันพฤหัสบดีที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2557

กปปส.ตรัง ล้อมที่เลือกตั้งล่วงหน้า

กปปส.ตรัง ล้อมที่เลือกตั้งล่วงหน้า
ข่าวภูมิภาค เลือกตั้ง2557 ม็อบการเมือง วันอาทิตย์ที่ 26 มกราคม พ.ศ.2557 11:06น.
511852
กลุ่ม กปปส. ตรัง กว่า 200 ปิดล้อมที่ว่าการอำเภอรัษฎา และศาลาประชาคม ที่เลือกตั้งล่วงหน้า จนท. เข้าหน่วยไม่ได้
ที่ว่าการอำเภอรัษฎา จ.ตรัง การจัดการเลือกตั้งล่วงหน้าในเขตจังหวัด มีผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งที่มาลงทะเบียนไว้จำนวน 3 คน แต่ตั้งแต่ช่วงเช้านั้น ได้มีกลุ่ม กปปส. อ.รัษฎา กว่า 200 คน ได้มาชุมนุมปิดประตูทางเข้าที่ว่าการอำเภอรัษฎา และศาลาประชาคม ซึ่งใช้เป็นหน่วยเลือกตั้งล่วงหน้าในเขตจังหวัด ดังนั้น เจ้าหน้าที่ประจำหน่วยเลือกตั้งไม่สามารถเข้าไปในหน่วยเลือกตั้งได้ อีกทั้ง หีบบัตร อุปกรณ์ และบัตรเลือกตั้งทั้งหมด อยู่ที่ว่าการอำเภอรัษฎา ทั้งหมด ซึ่งผู้ชุมนุมปิดล้อมที่ว่าการอำภอไว้ตั้งแต่ 5 วันที่ผ่านมา

http://www.innnews.co.th/shownews/show?newscode=511852

วันเสาร์ที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2557

วันกองทัพไทย

วันกองทัพไทย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

 

วันกองทัพไทย เป็นวันที่ระลึกในวาระที่สมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงกระทำยุทธหัตถีกับพระมหาอุปราชาของพม่า โดยถือเอาวันที่ 18 มกราคม ของทุกปีเป็นวันกองทัพไทยตามการคำนวณจากเหตุการณ์ในประวัติศาสตร์ ที่ระบุว่า พระองค์กระทำยุทธหัตถี ในวันจันทร์ แรม 2 ค่ำ เดือนยี่ ปีมะโรง จ.ศ. 954 คำนวณได้ ตรงกับวันที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2135 (บางตำราว่า ปี พ.ศ. 2136)
เดิมนั้นกระทรวงกลาโหมได้กำหนดให้วันที่ 8 เมษายนของทุกปีเป็นวันกองทัพไทย ต่อมาในปี พ.ศ. 2523 ได้เปลี่ยนโดยให้ถือเอาวันที่ 25 มกราคม เป็นวันกองทัพไทย ตามมติของคณะรัฐมนตรีในสมัยนั้น ภายหลังได้มีนักประวัติศาสตร์หลายท่านได้ตรวจสอบ และพบว่าวันที่ทรงกระทำยุทธหัตถีนั้น แท้จริงแล้วไม่ได้ตรงกับวันที่ 25 มกราคม แต่น่าจะตรงกับวันที่ 18 มกราคม ปีดังกล่าว ทางราชการยังคงถือเอาวันที่ 25 มกราคม เป็นวันกองทัพไทยต่อไป จนกระทั่งวันที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2549 คณะรัฐมนตรีได้เห็นชอบตามที่กระทรวงกลาโหมเสนอ ให้เปลี่ยนแปลงกำหนดวันกองทัพไทยจากวันที่ 25 มกราคม ของทุกปีเป็นวันที่ 18 มกราคม ของทุกปี และอนุมัติให้เป็นวันหยุดราชการของกระทรวงกลาโหมตามหลักการเดิม